7 เทคโนโลยีทางด้าน IoT


Posted 13 Nov 2020 10:50 | 3,960 views

ที่เหมาะจะนำมาปรับใช้ในประเทศไทย เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพทางด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม รวมถึงคุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศ

1. Smart Home (ระบบบ้านอัจฉริยะ) 
          เทคโนโลยีที่นำการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ตมาใช้กับอุปกรณ์ต่างๆภายในบ้าน เพื่อควบคุมอุปกรณ์ในบ้านหล่านั้นให้ทำงานแบบอัตโนมัติ

             การทำงานของระบบ Smart Home จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ 2 ส่วน คือ อุปกรณ์ส่วนควบคุมการทำงาน (Device Control) และ อุปกรณ์ตรวจจับ (Device Sensor) อุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้จะสื่อสารและถูกสั่งงานผ่านคลื่นความถี่ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เช่น Z-Wave และ ZigBee เป็นต้น


                                                                                                 ภาพจาก: d2usiam.com/smart-home

เพื่อการปรับแต่งบ้านให้สะดวกสบายและทันสมัยมากขึ้น ลดรายจ่ายต่างๆที่ไม่จำเป็น
และเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ตัวบ้าน

 

2. Smart grid (ระบบการส่งไฟฟ้าอัจฉริยะ) 
              เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ถูกพูดถึงกันมาก คือ การส่งไฟฟ้าอัจฉริยะแบบครบวงจร ระบบนี้จะพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าในปัจจุบัน ทั้งในด้านการส่ง การรับ และการตรวจสอบซ่อมแซมเมื่อสายไฟผิดปกติ ในหลายๆประเทศมีการพัฒนาระบบนี้ไปแล้ว และในประเทศไทยก็เริ่มศึกษาระบบนี้อย่างจริงจัง

            การนำเทคโนโลยี Smart grids มาใช้นั้นจะเป็นการเพิ่มส่วนของกระบวนการจัดการ (Operation) ตลาดซื้อ-ขายไฟฟ้า (Market) และการบริการ (Service) เข้าไปด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบส่งไฟฟ้านั่นเอง


โครงการพัฒนาโครงข่าย SMART GRID ในพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

เพื่อทำให้การซื้อขายไฟฟ้าเป็นไปอย่างเสรี ลดการผูกขาด ซึ่งจะส่งผลให้ไฟฟ้ามีราคาถูกลง ทั้งยังสะดวก
และตรวจสอบจุดที่ระบบมีปัญหาได้ง่าย

 

3. Smart city (เมืองอัจฉริยะ)
               เทคโนโลยีที่นำเอาการควบคุม หรือการรักษาความปลอดภัยต่างๆมาแสดงแบบเรียลไทม์ เช่น แผนที่เมืองที่สามารถบอกระดับการจราจรที่หนาแน่นได้ หรือจะเป็นสัญญาณไฟจราจรที่ใช้ sensor ในการวัดจำนวนของรถยนต์เพื่อนำไปคำนวณเป็นสัญญานเวลา แทนที่จะใช้เป็นการตั้งเวลาแบบในปัจจุบัน


                                                                                      ภาพจาก: engineeringtoday.net

 เพิ่มความน่าเชื่อถือ ลดระยะเวลาการเดินทาง และเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ประชาชนผู้อยู่อาศัย


                                                                                                                  ภาพจาก: real-inspire.com

 

4. Smart wearable (อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ) 
            เทรนด์นวัตกรรมที่ครองใจและโดนใจคนรักสุขภาพสายไอที ซึ่งนับว่าเป็นอุปกรณ์ที่ทุกๆคนสามารถมีได้ นอกจากเป็นเครื่องประดับแล้วยังเป็นเครื่องมือทางการแพทย์อีกด้วย 

               ปัจจุบัน Smart Wearable ถูกนำมาใช้ในหลายมิติของวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์การกีฬา อุปกรณ์อัจฉริยะเหล่านี้ สามารถยกระดับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคได้ด้วย
 


                                                                                                                       ภาพจาก: mahosot.com
ความสามารถในการรวมแอพลิเคชันต่างๆมาไว้ในนาฬิกา ซึ่งเป็นการใช้พื้นที่ที่น้อยแต่ได้ประโยชน์สูง

                Aging Society ตัวแปรช่วยดันให้ตลาด Smart wearable โตขึ้นได้อีก สํานักงานสถิติแห่งชาติ (NSO) เผยผลสำรวจ (่Jan.2019) ว่าจํานวนผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป) มีแนวโน้มอาศัยอยู่คนเดียวเพิ่มขึ้น โดยมีอัตราเฉลี่ยสะสม 3 % ต่อปี มาตั้งแต่ปี 2007 จนถึงปัจจุบัน และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มเป็น 1.4 ล้านคน ในปี 2022 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 11 % ของผู้สูงอายุทั้งหมด โดยปรากฎการณ์นี้จะทําให้ผู้สูงอายุต้องพึ่งพาตนเองในการทํากิจกรรมต่างๆ มากขึ้น

จากข้อเท็จจริงที่กรมควบคุมโรคเปิดเผยออกมาว่ามีผู้สูงอายุไทยเสียชีวิตจากการหกล้มสูงถึงปีละเกือบ 2,000 ราย ดังนั้น เพื่อพลิกวิกฤตเป็นโอกาสอุปกรณ์ Smart Wearable อย่าง Smart Watch ยุคนี้จึงต้องมีการเพิ่ม Features เพื่อป้องกันอุบัติเหตุในผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมา ที่จะสอดคล้องกับความต้องการในการดูแลผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียวด้วย

 

5. Otoscope (ที่ตรวจหูอัจฉริยะ)
                   อุปกรณ์การแพทย์แบบอิเล็คทรอนิกส์ เพื่อความสะดวกและประหยัดมากขึ้น เนื่องจากบางครั้งอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆอาจจะไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ ทั้งยังสามารถประหยัดเวลาได้ด้วย 

                 Cellscope บริษัทที่ทำอุปกรณ์ด้านการแพทย์แบบอิเล็กทรอนิกส์ เปิดตัวที่ตรวจหู (otoscope) อัจฉริยะ โดยประกอบร่างรวมเข้ากับเคสสำหรับสมาร์ทโฟนโดยเฉพาะ พร้อมแอพสำหรับใช้คู่กับที่ตรวจหูเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถนำไปติดกับกล้องโทรศัพท์แล้วสามารถตรวจภายในหูได้ เหมาะกับประเทศไทยที่การไปพบแพทย์ครั้งหนึ่งใช้เวลานานและมีราคาที่แพง

 


                                                                                                             ภาพจาก: popsci.com

ความสามารถในการตรวจโรคเบื้องต้นได้ สะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งยังประหยัดอีกด้วย

                  หลักการของที่ตรวจหูตัวนี้ ทำงานเหมือนที่ตรวจหูทั่วไป โดยใช้เลนส์ชุดพิเศษในการเชื่อมเข้ากับกล้อง เพื่อส่องเข้าไปในรูหูของคนไข้ แต่ที่พิเศษกว่าตรงที่มีแอพทำงานคู่ด้วยซึ่งหากใช้กับที่บ้านตัวแอพดังกล่าวก็จะสามารถส่งข้อมูลไปให้แพทย์ที่มีข้อตกลงกับบริษัท ช่วยวินิจฉัยอาการได้ด้วย

 

6. ADAMM Asthma Monitor (เครื่องตรวจจับอาการโรคหอบหืด) 
             
เป็นเทคโนโลยีทางด้านการแพทยจากบริษัท HCO  โดยอุปกรณ์นี้จะตรวจจับการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิร่างกาย การหายใจ และแสดงผลออกมาทางแอพลิเคชัน หากมีอาการผิดปกติอุปกรณ์นี้จะส่งสัญญาณเตือนไปยังโทรศัพท์ หรือแจ้งเตือนไปยังเบอร์ฉุกเฉินที่ผู้ใช้บันทึกไว้ ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตหรือได้รับอันตรายจากโรคนี้ได้อย่างมาก


                                                                                                    ภาพจาก: popsci.com

การเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตให้มากขึ้น หากมีอาการของโรคขึ้น บุคคลใกล้ชิดก็จะสามารถดูแลได้อย่างทันท่วงที

       

7.Connected car  (รถยนต์อัจฉริยะ) 
​​​​​​​            เป็นเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยที่จำเป็นสำหรับโลกยุคปัจจุบัน เพื่อลดอุบัติเหตุ, ลดการเสียเวลาบนท้องถนน, ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพการจราจรให้มีสภาวะคล่องตัวมากขึ้นอีกด้วย

​​​​​​​              หลักการของเทคโนโลยี Connected car ก็คือการแชร์ข้อมูลกันระหว่างรถเพื่อที่จะไม่ให้เกิดการชนกัน,การแชร์ข้อมูลระหว่างรถและสัญญาณจราจร หรือตำรวจจราจรเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุได้ ทั้งยังสามารถลดปัญหาการจราจรได้อีกด้วย
 


                                                                                                ภาพจาก: chobrod.com/tips-car-care/
การลดอุบัติเหตุบนท้องถนนอย่างเห็นได้ชัด ลดปัญหาการจราจรติดขัด และลดปัญหามลภาวะได้

 

แหล่งที่มา: iot24hours
เรื่อง Smart wearable: www.salika.co/2019/03/08/smart-wearable-healthy-trend/

Facebook Fan page: https://www.facebook.com/thairoboticsclub/
Youtube      : Mostori Solutions
Line Official : Mostori Solutions ​​​​​​​