Posted 19 Aug 2020 10:23 | 4,342 views
ระบบสาธารณสุขของไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายในการบริหารจัดการระบบไอทีในหลายด้าน ทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่สอดคล้องกับการใช้งาน และระบบการเชื่อมโยงข้อมูลของระบบสาธารณสุขของไทย Smart Thermometer Wireless System เป็นระบบสมาร์ทเฮลท์แคร์ อีกหนึ่งตัวเลือกที่จะเข้ามาสนับสนุนด้านการบริการของบุคลากรทางการแพทย์ในการรับมือกับผู้ป่วยติดเชื้อ Covid19 ได้รวมถึง Social Distancing การเว้นระยะห่างที่จะไม่สัมผัสกับผู้ป่วยบ่อยๆ
ถึงจะปลดล็อกดาวน์ Covid 19 แล้ว ก็ยังต้องเข้าสู่โหมด Social Distancing กันนะ
เพื่อเป็นการส่งเสริมสาธารณสุขไทยก้าวสู่ Smart Healthcare บริษัท มอสโทริ จำกัด บริษัทของคนไทย 100% ได้พัฒนาและออกแบบแพลตฟอร์มระบบการทำงานที่จะเข้ามาช่วยรักษาและเน้นการทำ social distancing เว้นระยะห่างของบุคคลากรทางการแพทย์ในการบริการที่ใกล้ชิดหรือสัมผัสผู้ป่วยบ่อยๆและผู้เข้ามาตรวจเช็คร่างกายหลายๆคนในโรงพยาบาลที่ชื่อว่า Smart Thermometer Wireless System ระบบติดตามอุณหภูมิร่างกายด้วย Sensor ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการวัดจะส่งข้อมูลแบบไร้สายด้วย Bluetooth (2.4 GHz) เป็นคลื่นความถี่ที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของผู้ใช้งานไปยังอุปกรณ์ที่รับ (Bluetooth) ส่ง (Wi-Fi) ข้อมูลที่เรียกว่า Gateway เพื่อนำข้อมูลไปประมวลผลและแสดงข้อมูลผ่าน Web Application หากสภาวะอุณหภูมิร่างกายมีค่าสูงเกินกำหนดที่เข้าข่ายผู้ติดเชื้อโควิดหรืออุปกรณ์มีความผิดปกติก็จะมีเสียงแจ้งที่โต๊ะเจ้าหน้าที่ทันที
การก้าวสู่ Smart Healthcare เป็นหนึ่งในความท้าทายในการผลักดันระบบสาธารณสุขของไทยให้ก้าวไปอย่างถูกต้องถูกทาง เพื่อสร้างระบบการรักษาพยาบาลที่มีสุขภาพและการจัดระบบไอทีของสาธารณสุขไทยเข้าสู่ Smart Heallthcare ที่สมบูรณ์โดยเร็ว
4 ปัจจัยหลัก ฉุดรั้ง Smart Healthcare ที่มีผลต่อสาธารณสุขบ้านเรา
1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับแพทย์ พยาบาล
เป็นหนึ่งในปัญหาพื้นฐานที่เกิดขึ้นในแทบทุกโรงพยาบาล เมื่อแพทย์และพยาบาลประสบปัญหากับการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ เพราะอาจมีความเคยชินกับระบบเดิมและไม่มีเวลาเรียนรู้ระบบใหม่ ทำให้เกิดปัญหาในการจัดเก็บข้อมูลและนำไปสู่ปลายทางของการพัฒนาระบบการแพทย์ที่ไม่สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาบริการทางการแพทย์ได้
ขณะที่แพทย์เองก็ต้องโฟกัสกับการรักษาคนไข้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด จึงละเลยการ Input ข้อมูลเพราะเห็นว่ามีความสำคัญน้อยกว่าที่หมอและพยาบาลต้องปฏิบัติเพื่อผลักดันให้เกิดระบบการจัดเก็บข้อมูล และการเชื่อมโยงข้อมูลที่มีประสิทธิภาพให้ประสบความสำเร็จในที่สุด
2. การรักษาแบบ Smart Healrhcare
ปัจจุบันระบบ Smart Healthcare ของไทยสามารถเดินหน้าไปได้เฉพาะในส่วนของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการช่วยดูแล ติดตามเฝ้าระวังผู้ป่วยเท่านั้น
แนวทางรักษาแบบ Smart Healthcare แม้จะเป็นแนวทางที่ได้ผลดีแต่ในบ้านเรายังติดปัญหาในเรื่องการจัดเก็บ เพราะการพยากรณ์การรักษาที่มีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องมีการ Input ข้อมูลเข้าระบบเป็นจำนวนมาก
3. Smart Data ก้าวสำคัญของการแพทย์อัจริยะ
การเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลด้วยกัน ปัจจุบันระบบสาธารณสุขของไทยยังไม่มีการบูรณาการและเชื่อมโยงฐานข้อมูลเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตามยังมีความพยายามจากภาครัฐที่จะเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวเข้าด้วยกันแล้ว
ส่วนในภาคเอกชนนั้น เครือโรงพยาบาลกรุงเทพก็เป็นหนึ่งในกลุ่มโรงพยาบาลที่มีการเชื่อมโยงประวัติคนไข้เข้าหากัน โดยผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพนั้น สามารถเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลในเครือแห่งใดก็ได้ โดยโรงพยาบาลที่เครือนั้นสามารถจะดึงแฟ้มประวัติคนไข้ และประวัติการรักษาจากฐานข้อมูลกลาง เพื่อใช้ในการดูแลรักษาคนไข้ต่อได้ ซึ่งปัจจุบันการเชื่อมโยงดังกล่าวใช้ได้กับโรงพยาบาลในเครือกว่า 50 แห่ง
อย่างไรก็ตามการแชร์ข้อมูลยังต้องคำนึงถึงระเบียบในการเปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วยด้วย เพราะข้อมูลของผู้ป่วยถือเป็นความลับที่จะดูได้เฉพาะแพทย์ที่ได้รับคำอนุญาตเท่านั้น
4. Patient Safety ประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึง
ในการก้าวสู่ Smart Healthcare นอกจากการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีขึ้นแล้ว ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาคือเรื่อง Patient Safety ซึ่งเป็นหลักความปลอดภัยของผู้ป่วยที่ต้องมีการให้ความสำคัญอย่างจริงจัง ทั้งการสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นกับบุคลากรทั้งแพทย์ พยาบาลและผู้เกี่ยวข้อง