Training kits โครงการพัฒนาบุคคลากรรองรับความต้องการของ EEC


Posted 2 Sep 2020 17:11 | 4,179 views

เปิดแผน 5 ปี EEC จับมือสถานศึกษาในพื้นที่ ปั้นหลักสูตรเข้มมาตรฐานสากล สร้างแรงงานเพิ่ม 4.75 แสนคน

          ในอีก 5 ปีข้างหน้านับจากนี้ประตู EEC จะเปิดต้อนรับแรงงานกว่า 475,000 คน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่แข็งแกร่งของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้เป็นอย่างดี โดย EEC-HDC มีแผนผลิตบุคลากรป้อนทั้ง 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายอย่างเป็นระบบ ด้วยการจับมือทั้งมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยอาชีวะ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาในพื้นที่และบริษัทต่างๆ ปั้นหลักสูตรทั้งระยะสั้น-ยาว รองรับความต้องการของภาคแรงงานอย่างเต็มที่ EEC สร้างงานมหาศาลมีตำแหน่งงานชัดเจน (2019)

          โครงการพัฒนาบุคลากรรองรับความต้องการของ EEC นี้ อาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างแข็งขัน โดยมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม  11 แห่ง ทั้งในและนอกพื้นที่ EEC วิทยาลัยอาชีวศึกษา 43 แห่ง โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 205 แห่ง โรงงานอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ 335 แห่ง ทั้งนี้แนวทางการสร้างบุคลากรในระดับอาชีวศึกษาจะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่

  1. EEC Model หรือบุคลากรคุณภาพชั้นสูงจะมีภาคอุตสาหกรรมเข้ามาจับมือกับวิทยาลัยอาชีวศึกษา จำนวน 12 แห่ง ในการร่วมพัฒนานักศึกษา โดยโรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมจะสนับสนุนทุนการศึกษา มีค่าใช้จ่ายให้กับนักศึกษาเป็นประจำทุกเดือน ในระหว่างฝึกงานในโรงงานอุตสาหกรรมก็จะได้เบี้ยเลี้ยง และเมื่อสำเร็จการศึกษาก็จะมีงานทำทันที โดยได้อัตราเงินเดือนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ซึ่งในรูปแบบนี้จะสร้างบุคลากรได้ประมาณปีละกว่า 6,000  คน และจะขยายรูปแบบนี้ไปยังสถาบันอาชีวศึกษาทุกแห่งในอนาคต ซึ่งจะมีการผลิตบุคลากรทั้งรูปแบบ EEC Model และแบบปกติ ทั้งนี้ EEC Model  ไม่ได้จำกัดสิทธิเฉพาะคนในพื้นที่เท่านั้น เพราะเปิดโอกาสให้คนนอกพื้นที่ที่สนใจเข้าร่วมศึกษาได้เช่นกัน นับเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาที่ทั่วถึงอย่างแท้จริง ในปี  2563 ตั้งเป้าหมายจะผลิตเพิ่มได้อีกประมาณ 30% หรือสร้างบุคลากรอาชีวศึกษาคุณภาพสูงได้ประมาณ 7,800 คน และในปีต่อๆไปก็จะเร่งผลิตบุคลากรเพิ่มขึ้นอีก เพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3 โครงสร้างพื้นฐานหลัก”
     
  2. ระบบผลิตบุคลากรแบบปกติ จะเป็นโปรแกรมการผลิตบุคลากรที่ไม่เข้มข้นเท่าแบบแรก ซึ่งมีวิทยาลัยอาชีวศึกษาในพื้นที่ EEC  เข้าร่วมโครงการ 31 แห่ง ผลิตบุคลากรอาชีวศึกษาได้ประมาณ 10,000 คนต่อปี รวม 5 ปีจะผลิตได้มากกว่า 50,000 คน
     
  3. ระบบผลิตบุคลากรโดยวิทยาลัยอาชีวศึกษานอกพื้นที่ EECจะมีวิทยาลัยอาชีวศึกษาเข้าร่วม 100 - 200 แห่ง จะผลิตบุคลากรอาชีวศึกษาในส่วนที่เหลือ โดยโรงงานอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมนักศึกษาอาชีวศึกษาเหล่านี้ จะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล
     

Training Kits for Industry 4.0 Smart Automation

          ปัจจุบันอุตสาหกรรม 4.0 ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อน เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เนื่องจากอุตสาหกรรม 4.0 เป็นการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตมาใช้ในกระบวนการผลิต มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของสิ่งของ (Internet Of Things) การประมวลและจัดเก็บข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ (Cloud Computing) โดยการนำเอาระบบเฝ้าติดตามการทำงานมาแสดงการทำงานของเครื่องจักร การนำเอาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในกระบวนการผลิตและลดข้อผิดพลาดในการเก็บข้อมูลได้ ทางบริษัท มอสโทริ จำกัด จึงได้มีการรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ มาใช้ในการออกแบบชุดฝึกการเรียนรู้ Training Kits for Industry 4.0 Smart Automation เป็นชุดฝึกการเรียนรู้ที่สร้อดคล้องกับยุคของอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากรให้มีองค์ความรู้เพิ่มขึ้น เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาเทคโนโลยีทางการผลิตอุตสาหกรรมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

         ส่วนประกอบหลักของชุดฝึก Training kits for industry 4.0 Smart Automation ภายในชุดฝึก 1 ชุด จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่

  1. HMI
     1.1 รองรับการสื่อสารผ่าน RS-485
     1.2 ขนาดความกว้าง 7 นิ้ว

  2. PLC
      2.1 รองรับการสื่อสารผ่าน RS-485
      2.2 ขนาด 12 Input มีสวิตช์จำลองสัญญานอินพุต และขั้วเสียบรองรับการต่อใช้งานกับอุปกรณ์ภายนอกชุดฝึก
            เช่น  สวิตช์, Sensor เป็นต้น

      2.3 ขนาด 12 Output มี LED จำลองการทำงานของเอาต์พุต และขั้วเสียบรองรับการต่อใช้งานกับอุปกรณ์
             ภายนอก เช่น 
หลอดไฟ, Solenoid Valve, Relay, Motor เป็นต้น

  3. DAM
      3.1 รองรับการสื่อสารผ่าน RS-485
      3.2 รองรับการสื่อสารผ่านระบบไร้สาย เช่น
            - Bluetooth เป็นการส่งข้อมูลในระยะใกล้ ใช้สำหรับการรับ – ส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ที่รองรับการสื่อสาร
              ผ่าน Bluetooth
            - Wi-Fi ใช้สำหรับการรับ – ส่งข้อมูลไปยังฐานข้อมูล เพื่อศึกษาการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT เข้ากับระบบ Cloud                 การสร้าง Dashboard เพื่อสื่อสารและควบคุมชุดฝึกการเรียนรู้ผ่านโปรแกรม Node-RED และเรียนรู้การใช้                 งาน SMART Dashboard (Grafana)
            - LoRa
เป็นการส่งข้อมูลในระยะไกล ใช้สำหรับการรับ – ส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ที่รองรับการสื่อสารผ่าน               LoRa

          SMART Dashboard ในการอบรมชุดฝึกการเรียนรู้ Training kits for industry 4.0 Smart Automation ผู้เข้าการอบรมสามารถเรียนรู้การใช้งาน SMART Dashboard (Grafana) ได้จากชุดฝึกนี้ ที่เป็น Mostori Dashboard สามารถรองรับการ Monitor ค่าต่าง ๆ ที่รับจาก DAM ได้ เช่น Digital, Analog ซึ่ง Mostori Dashboard จะมีตัวอย่าง Template ส่วนของ SMART Dashboard อยู่ 5 Template ได้แก่

          1. Smart Home เป็นตัวอย่าง Templet ที่ผู้เข้าอบรมสามารถทดลองออกแบบหน้า Dashboard โดยสามารถเลือกใช้งาน Widget เข้ามาออกแบบ เช่น

  • Widget ที่ใช้สำหรับการดึงค่าจากเซ็นเซอร์ เช่น เซ็นเซอร์วัดค่าอุณหภูมิที่ต่อเข้ากับชุดฝึกมาแสดงผลบนหน้า Dashboard
  • Widget สำหรับส่งข้อมูลเพื่อไปควบคุมสั่งเปิด - ปิด เอาต์พุตของชุดฝึกซึ่งต่อพ่วงกับอุปกรณ์ เช่น หลอดไฟ

          2. Smart Energy เป็นตัวอย่าง Templet ที่ผู้เข้าอบรมสามารถทดลองออกแบบหน้า Dashboard โดยสามารถเลือกใช้งาน Widget เข้ามาออกแบบ เช่น

  • Widget ที่ใช้สำหรับการดึงค่าการใช้พลังงานไฟฟ้า มาแสดงผลบนหน้า Dashboard แสดงผลในรูปแบบของตัวเลขและกราฟ

          3. Smart Farm เป็นตัวอย่าง Templet ที่ผู้เข้าอบรมสามารถทดลองออกแบบหน้า Dashboard โดยสามารถเลือกใช้งาน Widget เข้ามาออกแบบ เช่น

  • Widget ที่ใช้สำหรับการดึงค่าจากเซ็นเซอร์ เช่น เซ็นเซอร์วัดค่าอุณหภูมิ เซ็นเซอร์วัดค่าความชื้น เซ็นเซอร์วัดค่าแสง และเซ็นเซอร์วัดค่าอากาศ ที่ต่อเข้ากับชุดฝึกมาแสดงผลบนหน้า Dashboard
  • Widget สำหรับส่งข้อมูลเพื่อไปควบคุมสั่งเปิด - ปิด เอาต์พุตของชุดฝึก ซึ่งต่อพ่วงกับอุปกรณ์ เช่น หลอดไฟ

          4. Smart Factory เป็นตัวอย่าง Templet ที่ผู้เข้าอบรมสามารถทดลองออกแบบหน้า Dashboard โดยสามารถเลือกใช้งาน Widget เข้ามาออกแบบ เช่น

  • Widget ที่ใช้สำหรับการดึงค่าจากเซ็นเซอร์ เช่น เซ็นเซอร์นับจำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ ต่อเข้ากับชุดฝึก เพื่อดึงค่ามาแสดงผลบนหน้า Dashboard แสดงผลในรูปแบบของตัวเลขและกราฟ

          5. Smart City เป็นตัวอย่าง Templet ที่ผู้เข้าอบรมสามารถทดลองออกแบบหน้า Dashboard โดยสามารถเลือกใช้งาน Widget เข้ามาออกแบบ เช่น

  • Widget ที่ใช้สำหรับการดึงค่าจากเซ็นเซอร์ เช่น เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ เซ็นเซอร์วัดสภาพอากาศ ต่อเข้ากับชุดฝึก เพื่อดึงค่ามาแสดงผลบนหน้า Dashboard แสดงผลในรูปแบบของตัวเลขและกราฟ
  • Widget ที่ใช้สำหรับการดึงแผนที่มาแสดงผล

          เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ทางบริษัทมอสโทริ จึงได้จัดทำชุดฝึกการเรียนรู้ Training Kits for Industry 4.0 Smart Automation ที่จะสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะให้กับผู้เข้าอบรม เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับตัวเองและผู้อื่น นำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาองค์กรและเทคโนโลยีด้านการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด

 

ที่มา :

  1. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)
  2. https://www.mostori.com/product_group_sub.php?gs=64
  3. Cr.Image: wallpapercave