Data Acquisition Modules (DAM)


Posted 23 Nov 2020 16:06 | 3,541 views

อุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องจักร, อุปกรณ์และสัญญาณต่างๆสามารถควบคุมการทำงาน รับ-ส่งข้อมูลผ่านการสื่อสารไร้สายในระยะทางไกล (Wi-Fi / LoRa) ข้อมูลที่ได้รับจากการเชื่อมต่อจะสามารถนำไปแสดงผล หรือวิเคราะห์ในกระบวนการถัดไป ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้หลายอย่าง

 

ช่องทางการเชื่อมต่อที่มากกว่า สามารถเชื่อมต่อทางไกลแบบไร้สาย เข้าถึงการทำงานทุกรูปแบบ

 

องค์ประกอบ รูปแบบความสามารถในการสร้างการเชื่อมต่อเครือข่ายของ DAm
          ความสามารถในการสร้างเครือข่ายที่รองรับการสื่อสารแบบไร้สาย และยังสามารถตั้งค่าเป็น AP และ STA เพื่อรองรับอุปกรณ์อื่น ๆให้เข้าร่วมเครือข่ายเพื่อตอบสนองการใช้งานให้มากที่สุด

AP Network



          DAM สามารถสร้างเครือข่ายเป็น AP เพื่อเป็นศูนย์กลางของเครือข่าย โดย AP ย่อมาจาก Access Point เป็นโหมดที่จะใช้อุปกรณ์เป็นตัวปล่อยสัญญาณ WiFi ออกไป เพื่อให้อุปกรณ์ต่าง ๆ มาเชื่อมต่อด้วย ทั้งนี้อุปกรณ์จะรองรับอุปกรณ์ที่มาเชื่อมต่อด้วยเพียง 1 ตัวเท่านั้น เหมาะสำหรับงานที่ไม่ต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตหรือติดต่อกับอุปกรณ์อื่นในวงแลน ซึ่งโหมดนี้ยังเหมาะกับการนำไปควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่าน WiFi อีกด้วย งานควบคุมที่สามารถย้ายที่ได้ และไม่ต้องใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตจะเหมาะกับการใช้งานอุปกรณ์ในโหมด AP มาก

 

STA Network



          
STA ย่อมาจาก Station เป็นโหมดที่จะใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ปล่อยสัญญาณอื่น ๆ เช่น เร้าเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ที่เปิดฮอตสปอต การใช้งานในโหมดนี้นิยมใช้กับงานที่ต้องการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต หรือมีการสื่อสารกับอุปกรณ์หลาย ๆ ตัวในวงแลน ในงานด้าน IoT Smart Home และ Smart Farm มักใช้งานในโหมดนี้เพื่อส่งข้อมูลจากเซ็นเซอร์ขึ้นไปบนระบบคลาวด์ และใช้โหมดนี้เพื่อเชื่อมต่อกับระบบคลาวด์รับคำสั่ง ซึ่งจะมีคำสั่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ทำงานผ่านอินเตอร์เน็ต

 

AP+STA Network



          เป็นโหมดที่ให้โมดูล Wi-Fi ภายในอุปกรณ์ทำงานทั้ง 2 โหมด นั่นคือ AP และ STA ร่วมกัน ข้อดีของการใช้โหมดนี้คืออุปกรณ์ภายนอกสามารถเชื่อมต่อเข้ามาที่อุปกรณ์ได้ และอุปกรณ์ยังสามารถไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกได้ ในโหมดนี้มักใช้กับงานที่ต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตและมีการเคลื่อนย้ายบ่อย ๆ หรือสามารถเปลี่ยนสถานที่ใช้งานได้ โดยในโหมด AP จะทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถเข้ามาตั้งค่าการเชื่อมต่อ Wi-Fi กับเร้าเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆได้ในโหมด STA ก็จะนำค่าที่ตั้งไว้มาใช้เชื่อมต่อกับเร้าเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่ได้ตั้งค่าไว้

 

MQTT กับระบบ IoT



          
MQTT เป็น Protocol ที่ออกแบบมาเพื่อการเชื่อมต่อแบบ M2M (Machine-to-machine) คือ อุปกรณ์ติดต่อหรือสื่อสารกับอุปกรณ์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่อินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ  # MQTT กับระบบ IoT (Internet of Things) ท่านสามารถเข้าไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Click

 

           บริษัท มอสโทริ จำกัด ได้พัฒนาอุปกรณ์ที่ชื่อ DAM  ภายใต้แบรนด์ AXON โดยเป็นอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อเครื่องจักร, อุปกรณ์ และสัญญาณต่างๆเข้าด้วยกัน ให้ควบคุมกระบวนการทำงานผ่านการสื่อสารไร้สายในระยะไกลได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ยุค 4.0  ได้อย่างดีทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น Smart factory, Smart farm, Smart city และ Smart Healthcare 

        

 

         

 

            ท่านสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 098-2534241 หรือนัดทีมงานเข้าพรีเซ็นระบบงาน

 

บริษัท มอสโทริ จำกัด ทีมผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์  รวมถึงการให้คำปรึกษาในการใช้ระบบงานอื่นๆให้สอดคล้องกับโรงงานอุตสาหกรรมของลูกค้า

Facebook Fan page: https://www.facebook.com/thairoboticsclub/
Youtube      : Mostori Solutions
Line Official : Mostori Solutions